สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

นายแก่นเพชร แฝงสีพล

อาจารย์

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนา

พม.ชัชวาลย์ ฐิตุโณ

อาจารย์

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนา

พระณฐโชค สุวโจ

อาจารย์

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนา

นายประเสริฐ ชมพรมมา

อาจารย์

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนา

นายวุฒิชัย เยาวโพธิ์

อาจารย์

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนา

ข้อมูลหลักสูตร

ประเภทการขอรับทราบ หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุงตามกำหนดรอบปรับปรุง)
จำนวนปริญญา หลักสูตรปรับปรุง 1 ปริญญา
เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน 2565
วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ 27/03/2566
ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน 2566
หลักสูตรสังกัดคณะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562
ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2562

1.1.1 ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (4 ปี)
1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Teaching Buddhism
1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 9/37 หมู่ 12 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 143 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
1) รายวิชาพื้นฐาน บังคับเรียน ไม่นับหน่วยกิต 2 รายวิชา
2) รายวิชาบังคับเรียน 8 รายวิชา จำนวน 24 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 119 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนา 18 หน่วยกิต
1.1) รายวิชาบังคับเรียน 12 หน่วยกิต
1.2) รายวิชาเลือกเรียน 6 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาชีพครู 35 หน่วยกิต
2.1) รายวิชาชีพครู 22 หน่วยกิต
2.2) รายวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 13 หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเฉพาะทางการสอนพระพุทธศาสนา 60 หน่วยกิต
1.1) รายวิชาบังคับเรียน 40 หน่วยกิต
1.2) รายวิชาเลือกเรียน 20 หน่วยกิต
4) กลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 143 หน่วยกิต

 

1.3.3 ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
1.3.4 การรับผู้เข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
1.3.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
1.3.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)

เมื่อจบการศึกษาในหลักสูตรนี้ ผู้เรียนจะสามารถ “ทำ” “คิด” และหรือ “มีคุณลักษณะ” ดังนี้
PLO 1 รอบรู้ในศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีสมัยใหม่เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างมีความรับผิดชอบ
Sub PLO 1.1 อธิบายแนวคิดและทฤษฎีสมัยใหม่ และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งที่จะนำมาพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้
Sub PLO 1.2 ประยุกต์ใช้ศาสตร์แนวคิด ทฤษฎีสมัยใหม่ในการพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคม มีจิตอาสาและมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
Sub PLO 1.3 วิเคราะห์หลักการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ให้สามารถแก้ไขปัญหาชีวิต


PLO 2 รอบรู้ในศาสตร์ภาษาและเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีความรับผิดชอบ
Sub PLO 2.1 อธิบายการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นในชีวิตประจำวันได้
Sub PLO 2.2 ประยุกต์ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา เหมาะสมกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น แสดงออกถึงการใฝ่รู้ ใฝ่เรียนและเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
Sub PLO 2.3 เลือกใช้เครื่องมือสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับจุดประสงค์ของการใช้งานโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม


PLO 3 รอบรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมตามแนวทางพุทธธรรมนำปัญญา เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงพุทธ
Sub PLO 3.1 อธิบายหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
Sub PLO 3.2 นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปฏิบัติเพื่อพัฒนา และแก้ปัญหาตนเองและสังคมได้
Sub PLO 3.3 ประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงพุทธ


PLO 4 รอบรู้ศาสตร์และองค์ความรู้สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นำมาประยุกต์กับองค์ความรู้อื่นตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถวิจารณ์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนากับความรู้หรือสถานการณ์ต่างๆ ในยุคปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
Sub PLO 4.1 อธิบายความรู้สำคัญทางพระพุทธศาสนาตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้
Sub PLO 4.2 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้สำคัญทางพระพุทธศาสนาตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษที่ 21
Sub PLO 4.3 วิเคราะห์หลักการสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ถูกนำมาบูรณาการกับองค์ความรู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
Sub PLO 4.4 วิจารณ์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนากับความรู้หรือสถานการณ์ต่างๆ ในยุคปัจจุบันได้


PLO 5 รอบรู้ในศาสตร์การสอนพระพุทธศาสนา จิตวิทยาสำหรับครู หลักสูตรและวิทยาการจัดการเรียนรู้ การวัดการประเมินผล การวิจัย การออกแบบและพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษา
Sub PLO 5.1 อธิบายศาสตร์การสอนพระพุทธศาสนา มีทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู หลักการ แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หลักคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับครู
Sub PLO 5.2 วิเคราะห์ศาสตร์การสอนพระพุทธศาสนา หลักสูตรและวิทยาการจัดการเรียนรู้ การออกแบบสื่อนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนำหลักการทางจิตวิทยามาร่วมในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับธรรมชาติของผู้เรียน
Sub PLO 5.3 ออกแบบการวิจัย สร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน รวมถึงการสร้างเครื่องมือในการวัดและประเมินผล


PLO 6 บูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนพระพุทธศาสนา และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยพุทธบูรณาการในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตนด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพและจิตวิญญาณความเป็นครู
Sub PLO 6.1 บูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนพระพุทธศาสนา สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการวางแผนและการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีปัญญารู้คิดด้วยพุทธบูรณาการ
Sub PLO 6.2 ถ่ายทอดองค์ความรู้และศาสตร์การสอนพระพุทธศาสนาด้วยพุทธ
บูรณาการในการปฏิบัติหน้าที่ครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม และจิตวิญญาณความเป็นครู

รหัสและชื่อหลักสูตร   
 ประเภทการขอรับทราบ หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุงแบบแยก)  
 จำนวนปริญญา หลักสูตรปรับปรุง 1 ปริญญา  
 เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน 2558  
 วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ 27/03/2562  
 ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน 2562 
  หลักสูตรสังกัดคณะ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 
  เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 
  ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2559 
     
 1.1.1 ชื่อภาษาไทย:หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (4ปี)  
 1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ:Bachelor of Education Program in Teaching Buddhism  
 1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน:สถานที่จัดการเรียนการสอนอื่นๆ (โปรดระบุ):มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน  
ระบบจัดการศึกษา  
 1.5.1 การจัดการศึกษาและโครงสร้างหลักสูตร ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ 
 1.5.2 การจัดการศึกษาฤดูร้อน ไม่มี 

3.1 หลักสูตร

3.1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า151หน่วยกิต

3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                    30      หน่วยกิต

          (1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                                6        หน่วยกิต

          (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                               6        หน่วยกิต

          (3) กลุ่มวิชาภาษา                                      12      หน่วยกิต

          (4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์               6        หน่วยกิต

  1. หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า                                 115     หน่วยกิต

          (1)กลุ่มวิชาเฉพาะทางพระพุทธศาสนา                           18      หน่วยกิต

                   – วิชาบังคับเรียน                                       12      หน่วยกิต

                   – วิชาเลือกเรียน                                        6        หน่วยกิต

          (2)กลุ่มวิชาชีพครูไม่น้อยกว่า                                     35      หน่วยกิต

                   – รายวิชาชีพครู                                         23      หน่วยกิต

                   – การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา          12      หน่วยกิต

          (3)กลุ่มวิชาเฉพาะทางการสอนพระพุทธศาสนา                 62      หน่วยกิต

                    – วิชาเอกบังคับเรียน                                   42หน่วยกิต

                   – วิชาบังคับเลือก                                                 20หน่วยกิต

  1. 3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า                              6        หน่วยกิต

                                                รวม                         151     หน่วยกิต

 

ข่าวอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มมร.อส

กำหนดการทอดเทียนพรรษาสามัคคี คณะสงฆ์ธรรมยุต

กำหนดการทอดเทียนพรรษาสามัคคี คณะสงฆ์ธรรมยุต ณ ลานจามจุรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน  และ ร่วมทำบุญและตั้งโรงทาน ได้ที่ ดร.เอนก…

พระครูจิตตสังวรคุณ (สนิท จิตฺตวโร) มอบทุนการศึกษา 10,000 บาท

กราบขอบพระคุณ พระครูจิตตสังวรคุณ (สนิท จิตฺตวโร) เจ้าคณะอำเภอนามน (ธ) มอบทุนการศึกษา 10,000 บาท ให้กับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย…

ปฏิบัติธรรมประจำปี 2567 ของนักศึกษา ป.ตรี ภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์)

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ได้จัดปฏิบัติธรรมประจำปี 2567 ของนักศึกษาภาคพิเศษ ครั้งที่ 3 ณ อาคารหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก…

กิจกรรมเสริมหลักสูตร : กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ คณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 3

กิจกรรมเสริมหลักสูตร : กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ คณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน และค่ายจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ คณะกรรมการนักศึกษาคฤหัสถ์…

Nanhua University (NHU)

Nanhua University (NHU) โดยมี ดร.เอนก มูลมา เป็นตัวแทนในการเดินทาง และมีหน้าที่ได้รับมอบหมายดังนี้ 1) เป็น…