การประชุมวิชาการและการนำเสนอบทความวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด -19 การปรับตัวของคนหลากหลายอาชีพโดยเฉพาะแวดวงการศึกษาต้องปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงบนหลักการปรับตัวในยุค Disruption การศึกษาจึงเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมโดยรวมให้ดีขึ้น ทุกองค์การทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น จึงตระหนักเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนเรื่องการศึกษา ในระดับโลก

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด -19 การปรับตัวของคนหลากหลายอาชีพโดยเฉพาะแวดวงการศึกษาต้องปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงบนหลักการปรับตัวในยุค Disruption การศึกษาจึงเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมโดยรวมให้ดีขึ้น ทุกองค์การทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น จึงตระหนักเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนเรื่องการศึกษา ในระดับโลก องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดให้การศึกษาเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหัสวรรษ 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) ข้อที่ 4 ว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษาที่เท่าเทียม และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนา เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ประเทศไทย ที่ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” การวิจัยจึงเป็นพลังที่สำคัญในการได้มาซึ่งข้อมูลช่วยให้เกิดวิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น    ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ช่วยส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและศาสตร์สาขาต่าง ๆ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพเป็นผู้นำด้านวิจัยและบริการวิชาการสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา ปรัชญา การศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)    ได้แบ่งกลุ่มมหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยศาสนา โดยมีสถาบันวิจัยญาณ-สังวรฯ วารสารแสงอีสาน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน เป็นกลไกในการส่งเสริมวิจัยให้มีคุณภาพบนพื้นฐานของปรัชญามหาวิทยาลัยที่ว่า “ความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนา”

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน เป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาหลายสาขาวิชา ในระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโท มี 5 สาขาวิชา ระดับปริญญาเอก มี 3 สาขาวิชา ซึ่งหลักสูตรมุ่งเน้นให้นักศึกษาสร้างงานวิจัยและนำเสนอผลงานวิจัยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม การประชุมดังกล่าวนี้ นอกจากจะเป็นเวทีวิชาการให้นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป และยังเป็นเวทีให้นักศึกษาทุกระดับในมหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ด้วยจึงเล็งเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษาสู่สาธารณชน ทั้งในระดับชาติรวมถึงการผลิตงานทางวิชาการ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ และมีงานวิจัย บทความวิชาการ ด้านการศึกษา ด้านการบริหารการศึกษา ภาวะผู้นำ ด้านพุทธศาสนาและปรัชญา ด้านรัฐศาสตร์/การปกครอง/รัฐประศาสน-ศาสตร์/สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ด้านการสอนภาษาไทย และด้านการสอนสังคมศึกษา เพื่อให้ตอบโจทย์การศึกษา สังคม และการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกให้กว้างขวาง รวมทั้งการบูรณาการศาสตร์สาขาวิชา   ต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยที่เป็นประโยชน์แก่สังคมต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อแลกเปลี่ยนผลงานวิชาการสำหรับนักศึกษาคณาจารย์นักวิจัยและผู้ที่มีความสนใจ
  2.  เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการวิจัยด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ พุทธศาสนา
    และปรัชญา ผ่านการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมในสังคม

ผลการพิจารณา

บทความที่ส่งเพื่อร่วมการประชุมวิชาการ จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะเผยแพร่ผลงานวิชาการ จะต้องปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการของการจัดประชุม

การลงทะเบียนและส่งบทความวิจัย/บทความวิชาการ

ผู้นำเสนอผลงานสามารถส่งไฟล์บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ (แนบไฟล์) ความยาวไม่เกิน 12 หน้ากระดาษ A4 ทั้งนี้นับรวมรูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก จัดพิมพ์ด้วยแบบอักษร  TH Sarabun PSK  ขนาด  16  สำหรับภาษาไทย  และ Times New Roman ขนาด 12 สำหรับภาษาอังกฤษ (Attached word file) โดยจัดรูปแบบให้เรียบร้อยตามที่กำหนด หากไม่ทำตามรูปแบบที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณา ส่งมาที่ Email: mbuisc_conference3@mbu.ac.th นางสาวนัยน์ปพร สุภา

โดยอัตรานี้รวมถึงเอกสารรวมบทคัดย่อ รายงานการประชุมวิชาการ (Proceedings) เอกสารอื่น ๆ อาหารว่างและอาหารกลางวัน 

* * สำหรับผู้นำเสนอบทความวิจัย เมื่อส่งบทความวิจัยฉบับแก้ไขสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ให้ชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย  ชื่อบัญชีเงินนอกงบ ม. มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน เลขที่บัญชี 405-1-90559-4 สาขาขอนแก่น (ในวัน-เวลาราชการ 08:30 น. – 16:30 น.) พร้อมส่งหลักฐานการชำระเงิน ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ตามที่อยู่ Email: mbuisc_conference3@mbu.ac.th นางสาวนัยน์ปพร สุภา ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินค่าลงทะเบียนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

        สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 096-9419744 นางสาวนัยน์ปพร สุภา, 088-2282187 นางสาวกาญจนาพร พองพรหม

รูปแบบการนำเสนอ

ผลงานที่นำเสนอต้องเป็นผลงานวิทยานิพนธ์/ผลงานวิจัย/บทความวิชาการ ระดับปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท นักวิจัยอิสระ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ของสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนในประเทศไทยหรือต่างประเทศ

รูปแบบการนำเสนอผลงาน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การนำเสนอด้วยวาจา (Oral Presentation) และการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ (Poster Presentation)

– การนำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation) อาจนำเสนอด้วย PowerPoint หรือ Slide 
และใช้เวลาในการนำเสนอเรื่องละ 15 นาที (รวมเวลาถาม – ตอบ)

– การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ กำหนดรายละเอียดดังนี้ 

(1) ให้ผู้นำเสนอจัดทำโปสเตอร์ขนาด 80×120 เซนติเมตร (แนวตั้ง) จำนวน 1 แผ่น ขนาดตัวอักษรในโปสเตอร์ ให้ใช้ขนาดไม่เล็กกว่า 0.5 ซม. สามารถอ่านได้ชัดเจนในระยะห่าง 1 เมตร และผู้นำเสนอต้องจัดทำโปสเตอร์และนำขาตั้งมาด้วยตนเอง เพื่อติดในสถานที่ที่มหาวิทยาลัยจัดเตรียมให้ก่อนเวลาเริ่มงาน อย่างน้อย 30 นาที

(2) ใส่ชื่อ-นามสกุล ชื่อสถาบัน และรูปของผู้นำเสนอผลงานที่มุมขวาด้านล่างของโปสเตอร์ 

(3) เนื้อหาในโปสเตอร์ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการวิจัย ข้อสรุป รายการอ้างอิง (โดยเลือกเฉพาะการอ้างอิงที่ปรากฏในโปสเตอร์เท่านั้น) โดยเนื้อหาควรมีรายละเอียดมากกว่าในบทคัดย่อ (ต้องไม่ใช่การนำบทคัดย่อมาขยายขนาด)

(4) ผู้นำเสนอด้วยโปสเตอร์ ต้องยืนประจำที่โปสเตอร์ในเวลาที่กำหนดให้

(5) ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอ สามารถเสนอด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ